กระแจะ
ชื่อสมุนไพรไทยอื่นๆเช่น ขะแจะ,แจะ,แจ๊,ตูมตัง,พินิยา,พุดไทร,สุหลง(ใต้),พญายา(กลาง),ทานาคา
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรไทย Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson วงศ์ RUTACEAE
เป็นสมุนไพรไทยกึ่งไม้ต้น ลำต้นมีกิ่งก้านและหนามแหลมยาว เปลือกต้นสีเทาปนขาว เปลือกแตกร่องเป็นขุยสีขาว มีหนามคล้ายมะตูม
ใบสมุนไพรไทยนี้ เป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว ออกเป็นช่อหรือเป็นกลุ่ม เรียงสลับตรงข้ามตามก้าน และแกนกลางใบประกอบมีครีบลักษณะคล้ายแผ่นใบแผ่กว้างมากหรือน้อยปรากฎอยู่ทั้ง 2 ด้าน รูปทรงคล้ายใบคนทา
ดอกสมุนไพรไทยนี้ เป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกตามกิ่งด้านข้าง หรือออกมาจากกลุ่มใบประกอบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ แยกกันเป็นอิสระ มีต่อมน้ำมันทั่วไป
ผลสมุนไพรไทยนี้ เป็นผลกลมมีเนื้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-1.2 เซนติเมตร มีต่อมน้ำมันทั่วไป เมื่อสุกมีสีดำ รสเปรี้ยว ภายในมี 1-4 เมล็ด
สรรพคุณสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ
ใบสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ ใช้แก้ลมบ้าหมู
รากสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ เป็นยาถ่าย
แก่นสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย(การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง)
ลำต้นสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ ใช้ต้มน้ำดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า-กลางวัน-เย็น แก้อาการโรคผิวหนัง มีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน
เปลือกต้นสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ แก้ไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส
ผลสมุนไพรไทยนี้ต่อสุขภาพ บำรุงร่างกาย แก้ไข้ แก้กษัย แก้โรคผอมแห้ง แก้โรคลมบ้าหมู
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ส่วนลำต้นสามารถใช้ในการรักษาโรคผิวหนังที่มีผื่นคันเป็นเม็ดคล้ายผด ภูมิปัญญาพม่าใช้ทาหน้าให้ขาวใส มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งทำให้การสร้างเมลานินลดลง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ปกป้องแสงแดด(SPF) เท่ากับ 1.25