กระเบากลัก

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปกระเบากลัก

กระเบากลัก

กระเบากลัก
ชื่ออื่นๆเช่น กระเบาลิง(นครสวรรค์),กระเบาพนม(เขมร),กระเบาซาวา(เขมร-จันทบุรี),กระเบียน(จันทบุรี),คมขวาน(กบินทร์บุรี,ปราจีนบุรี),จ๊าเมี่ยง(ลำปาง),ดูกช้าง(กระบี่),ดูกผี(ลาว-กบินทร์บุรี),ปะโดลูตุ้ม,ปักกราย(ปัตตานี,มาเลเซีย),หัวค่าง(ประจวบคีรีขันธ์,สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydnocarpus ilieifolia King วงศ์ FLACOURTIACEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ผลัดใบ ลำต้นส่วนมากตรง เปลือกเรียบ สีเทา เนื้อไม้ ส่วนแก่นสีเหลืองกรัก ต้นต้องมีอายุหลายปีจึงจะสร้างแก่นได้ กระเบากลักต่างกับกระเบาน้ำคือ ใบกระเบากลักจะมีหนามคมข้างใบ
รูปผลกระเบากลัก

ผลกระเบากลัก

คล้ายเหงือกปลาหมอ ลูกเล็กกว่า เนื้อไม้มีสีขาวแกมเหลืองอ่อนๆ เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดสม่ำเสมอ ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตรได้ดี เนื้อในเมล็ดสามารถรับประทานและนำมาทำเทียนไขและสบู่ได้ด้วย เป็นพรรณไม้หลักของป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ขึ้นได้ดีทุกสภาพดิน และชอบขึ้นบนภูเขาหินปูน ส่วนที่นำมาทำยาคือเมล็ด ซึ่งสกัดเป็นน้ำมันกระเบาได้ นอกจากนี้ยังใช้เปลือก ใบและดอกอีกด้วย
ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียง สลับ ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่ แกมรูปหอก กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 12-17 เซนติเมตร สีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นเหม็นเขียว เนื้อใบหนา ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมทู่ๆขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆค่อนไปทางปลายใบและเห็นชัดในช่วงใบอ่อน ใบแห้งมีสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเขียวอ่อน เส็นแขนงใบมี 6-8 คู่ ปลายเส้นจะโค้งจรดกับเส้นถัดไป เส้นใบย่อยเป็นแบบเส้นร่างแห จะเห็นได้ชัดทั้งสองด้าน
ดอก มีสีเขียวอ่อน ดอกเพศผู้และเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน ดอกเพศผู้จะออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ ทั้งกลีบฐานดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ เกสรตัวผู้รวมกันเป็นกระจุก 24 อัน
ผล เป็นชนิดผลเดี่ยว ชนิดผลสดแบบ berry รูปร่างกลมแข็ง ผิวมีขนนุ่มเป็นกำมะหยี่สีดำโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ผลหนึ่งๆมีเมล็ด 10-15 เมล็ด
สรรพคุณ
ใบ รสเบื่อเมา แก้พิษบาดแผลสด แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิบาดแผล
ผล รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด
เมล็ด รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด ผิวหนัง ทำยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผมร่วง
รากไม้และเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก็โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิผิวหนังต่างๆ รักษาแผล แก้เสมหะเป็นพิษ ดับพิษทั้งปวง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ไม่มีรายงานการวิจัย

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี