กันเกรา

สมุนไพรไทยกับสุขภาพ โดย…บ้านคุณหมอ

รูปกันเกรา

กันเกรา

กันเกรา
ชื่ออื่นๆเช่น มันปลา(อีสาน),ตำเสา,ทำเสา,มะซู(ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.วงศ์ GENTIANACEAE
เป็นสมุนไพรไทยไม้พุ่มผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 8-30 เมตร เปลือกนอกหยาบหนา สีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดแตกกิ่งก้านแน่น เป็นรูปกรวยคว่ำ กิ่งลู่ลงสู่พื้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง แผ่นใบบาง ใบรูปรี แกมรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือยาวเรียวโคนสอบขอบเรียบ มีเส้นเคลือบเป็นมันรอบใน
รูปดอกกันเกรา

ดอกกันเกรา

เส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัด เนื้อในหนาคล้ายหนัง ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่ออกสีเหลืองก่อนร่วงหล่น ก้านใบยาว 0.6-1.8 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกสั้น มีดอกออกหนาแน่น เป็นกระจุกบนช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมเย็น เมื่อดอกเริ่มบานมีสีขาวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใกล้จะร่วงสีเหลืองเข้มขึ้น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกติดกันรูปแจกัน ยาว 1.3-2.2 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ยาว 1.8-2.3 เซนติเมตร ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเช่นกัน ดอกดกตามบริเวณปลายกิ่ง ออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล ผลกลมมีเนื้อขนาดเล็กรวมกันเป็นช่อคล้ายช่อดอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีติ่งแหลมสั้นๆอยู่ตรงปลายสุด เมื่อแก่ผนังไม่แตกแยกออกจากกัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่ไม่แตก เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดนก มีรสขม เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก ผลสุกแก่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
สรรพคุณสมุน
เปลือก บำรุงโลหิต แก้ผิวหนังพุพอง ปวดแสบร้อน
แก่น แก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดลมพิการ แก้หืด บำรุงโลหิต แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แน่นหน้าอก แก้ท้องมาน แก้ลงท้องมูกเลือด บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งเนื้องอก ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา เมื่อฉีดสารสกัดใบด้วยเมธานอลกับน้ำเข้าช่องท้องหนูถีบจักรพบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง มากกว่า 1 กรัม/กิโลกรัม

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี